การจัดทำดรรชนีวารสาร
แผนกเทคนิค สำนักหอสมุด
เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการทำดรรชนีวารสาร
ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศที่มีอยู่ในทรัพยากรสารสนเทศประเภท วารสาร
เพื่อจัดเป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง มีความทันสมัยภายในเล่มจะแบ่งเป็น คอลัมน์ มีหลายบทความวารสารที่คัดเลือกทำดรรชนีจะต้องมีเนื้อหาทางวิชาการหรือไม่ก็กึ่งวิชาการ
ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้บริการห้องสมุดได้รับความสะดวก รวดเร็ว
ในการหาสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการสามารถนำไปใช้ในการศึกษาหรือค้นคว้าวิจัยประกอบการทำรายงานได้
ขั้นตอนการทำดรรชนี
1.
การคัดเลือกวารสารเพื่อทำดรรชนี
2.
การคัดเลือกบทความ
3.
การลงรายการดรรชนีวารสาร พร้อมวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อกำหนดหัวเรื่อง
4.
การบันทึกรายการดรรชนีวารสารในฐานข้อมูล
5.
การส่งวารสารในแผนกเทคนิค
การคัดเลือกวารสารเพื่อทำดรรชนี
บรรณารักษ์จะเป็นผู้พิจารณาวารสารภาษาไทย
ทั้งที่ห้องสมุดบอกรับและได้รับอภินันทนาการอย่างต่อเนื่อง
ที่มีเนื้อหาทางวิชาการและกึ่งวิชาการที่ตรงกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
โดยมีการรวบรวมวารสารที่ทำดรรชนีเป็นรายชื่อวารสารที่ทำดรรชนีวารสาร
และมีการปรับปรุงแก้ไขรายชื่อวารสารเป็นประจำทุกปี
การคัดเลือกบทความ
คัดเลือกบทความที่มีคุณค่าทางวิชาการ, เนื้อหาที่ครอบคลุมคณะ /
หลักสูตร
ที่มหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนและมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย
บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้
เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นสารสนเทศที่ต้องการจากวารสารได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
วิธีการคัดเลือกบทความ
1.
ประทับตรา และลงวันที่ที่ทำดรรชนีวารสารในหน้าสารบัญ
“ / ทำดรรชนีวารสาร”
|
|
2.
คัดเลือกบทความจากวารสาร โดยดูจากรายชื่อบทความหน้าสารบัญแล้วเปิดดูบทความ
ถ้าเป็นบทความที่มีคุณค่าทางวิชาการก็ทำเครื่องหมาย (/) ไว้ที่หน้าชื่อบทความ
3.
ทำเครื่องหมายถูก (/) ที่หน้าชื่อบทความหน้าสารบัญ
การลงรายการดรรชนีวารสาร
พร้อมวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อกำหนดเรื่อง
การลงรายการดรรชนีวารสาร
1.ส่วนประกอบของดรรชนีวารสาร
ประกอบด้วย
- ชื่อผู้แต่ง
- ชื่อบทความ
-
ชื่อเรื่องเทียบเคียง
- หมายเหตุ เช่น
บทคัดย่อ, บทความภาษาต่างประเทศ, ภาพประกอบ, ตาราง, แผนภูมิ เป็นต้น
- หัวเรื่อง
-
ชื่อผู้แต่งร่วม
- ชื่อวารสาร
- ปีที่, ฉบับที่, เดือน/ปี
และเลขหน้า
-
ผู้รับผิดชอบลงรายการดรรชนีวารสาร
2.
คู่มือประกอบการปฏิบัติงาน
คณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ชื่อหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ สำหรับการลงรายการสิ่งพิมพ์ภาษาไทย.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535. 968 หน้า
การพิมพ์จดหมายตอบขอบคุณวารสาร
การพิมพ์จดหมายตอบขอบคุณวารสาร
เป็นการพิมพ์จดหมายเพื่อแสดงความขอบคุณกับผู้ที่ได้บริจาคสิ่งพิมพ์ให้กับทางสำนักหอสมุด
ซึ่งจดหมายแบ่งแยกตามชนิดของหนังสือราชการทั้งภายใน –
ภายนอก และจดหมายภายนอกยังออกในรูปของหนังสือประทับตราจดหมายภายนอกเป็นจดหมายที่มีลักษณะเป็นแบบทางการ
ส่วนจดหมายส่งแบบภายในจะเป็นบันทึกข้อความ (ไม่เป็นทางการ)
โดยจดหมายภายในไม่ต้องพิมพ์ซองจดหมาย
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
1.
พิจารณาคัดแยกเอกสารตามชนิดหนังสือราชการภายใน-ภายนอก
ตามชนิดหนังสือ
2.
พิมพ์จดหมายตอบขอบคุณฉบับร่างตามชนิดของหนังสือภายใน-ภายนอก
พร้อมทั้งพิมพ์ซองจดหมาย
3.
จัดส่งให้บรรณารักษ์ผู้ที่รับผิดชอบตรวจทานจดหมายตอบขอบคุณก่อนส่งให้หัวหน้าแผนก
4.
จัดส่งให้หัวหน้าแผนกตรวจทานเมื่อตรวจทานเสร็จแล้วจะจัดส่งลงมาเพื่อออกเลขที่หนังสือทุกชนิดในสมุดหนังสือภายใน-ภายนอก
5.
พิมพ์จดหมายฉบับจริงและส่งเอกสารให้เลขานุการเพื่อนำเสนอให้ผู้อำนวยการลงนาม
6.
เมื่อผู้อำนวยการลงนามเสร็จแล้วนำจดหมายตอบขอบคุณสำเนาและเอาจดหมายฉบับจริงใส่ซองส่งออกให้งานสารบัญมหาวิทยาลัย
7.
นำสำเนาจดหมายตอบขอบคุณให้แผนกพัฒนาพิมพ์ลง www เมื่อพิมพ์เสร็จจะส่งสำเนาจดหมายตอบขอบคุณมาคืนแผนกเทคนิค
8.
สำเนาตอบขอบคุณนำเก็บเข้าแฟ้มและแยกประเภทของจดหมาย
การพิมพ์รายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รับบริจาค
สำนักหอสมุด มหาวิทยารังสิต ได้รับทรัพยากรสารสนเทศบริจาคมาจากหน่วยงานต่างๆ
ทั้งของภาครัฐและเอกชน หรือบุคคลที่มีความต้องการบริจาคเข้าห้องสมุด
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
1.ผู้ใช้นำมาบริจาคเข้าห้องสมุด
มีกรณีดังต่อไปนี้
-
กรณีที่ผู้ใช้นำมาบริจาคที่แผนกเทคนิค ผู้ใช้ต้องลงรายละเอียดในแบบฟอร์มการรับบริจาคที่ทางสำนักหอสมุดจัดเตรียมไว้ให้
-
กรณีที่ผู้ใช้นำมาบริจาคทางอื่นๆ เช่น สำนักงานเลขานุการ /
แผนกบริการจะมีแบบฟอร์มให้กรอกก่อนจัดส่งให้แผนกเทคนิคเพื่อพิมพ์รายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ
-
ทุกๆ กรณีที่ผู้ใช้นำทรัพยากรสารสนเทศมาบริจาคเข้าห้องสมุด
ถ้าผู้บริจาคแจ้งขอหนังสือตอบขอบคุณทางสำนักหอสมุดก็ดำเนินการทำหนังสือตอบขอบคุณให้
2.นำทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รับบริจาคเขียนนามผู้บริจาคด้านหน้าปกใน
3.พิมพ์รายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รับบริจาคเข้าห้องสมุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น