จัดหาหนังสือ/สื่อโสตทัศน์ด้วยงบประมาณ
สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยรังสิต
มีนโยบายในการคัดเลือกหนังสือโสตทัศน์ให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอน
การศึกษาค้นคว้าวิจัยของมหาวิทยาลัยและเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาความรู้ส่งเสริมศักยภาพบุคลากรและนักศึกษา
ซึ่งบรรณารักษ์ที่ดำเนินการจัดหาทรัพยากรจะต้องติดตามหลักสูตรการเรียนการสอนและการวิจัยของแต่ละคณะ/ภาควิชาต่างๆ
ซึ่งหนังสือที่จัดหาเข้ามาอาจจะเป็น สารคดี บันเทิงคดี หนังสืออ่านประกอบ
ตำราเรียน คือ ภาษาต่างประเทศ ไม่เกิน 2 เล่ม และภาษาไทยไม่เกิน 5 เล่ม
ขั้นตอนการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
1. สำนักหอสมุดจะมีการจัดสัปดาห์ห้องสมุด ปีละ 1
ครั้ง โดยอาจารย์และบุคลากรและนักศึกษาสามารถคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด ได้โดยกรอกรายชื่อสั่งซื้อในบันทึกเสนอรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการพิจารณาจัดซื้อ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต
2. บรรณารักษ์จะรวบรวมรายชื่อส่งให้คณบดีแต่ละคณะ/วิทยาลัย
ลงนามอนุมัติ
3. บรรณารักษ์ตรวจสอบรายชื่อผู้ที่มีสิทธิเสนอชื้อกับฐานห้องสมุดว่ามีหรือไม่มี
ปีเก่าหรือปีใหม่ เพียงพอกับความต้องการหรือไม่
4. กรณีมีเพียงพอแล้วให้ยกเลิกรายการนั้น
และทำการแจ้งผลไปยังผู้เสนอซื้อทราบ
ส่วนกรณีที่ยังไม่มีให้ดำเนินการจัดหาและแจ้งผลผู้เสนอซื้อทราบเช่นกัน
5. สำหรับหนังสือที่อาจารย์ผู้เสนอซื้อ คัดเลือกจากผู้เสนอซื้อที่ได้จากสำนักต่างๆ
โดยอาจารย์ต้องกรอกรายชื่อหนังสือลงในบันทึกเสนอรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการพิจารณาจัดซื้อ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต
6. บรรณารักษ์รวบรวมรายชื่อหนังสือที่ตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว
จำแนกตามคณะ
และติดต่อกับประสานงานกับตัวแทนจำหน่ายของสำนักพิมพ์ โดยตรวจสอบและเปรียบเทียบราคาจากใบเสนอราคา
โดยจะพิจารณาร้านค้าที่ให้บริการดี มีความซื่อสัตย์ ส่งของถูกต้องตรงต่อเวลา
ให้บริการด้วยความรวดเร็วเหมาะสม
7. ตรวจสอบรับหนังสือเมื่อตัวแทนจำหน่ายส่งให้พิจารณา
โดยตรวจสอบสภาพเล่ม เพื่อให้ได้หนังสือที่มีความสมบูรณ์
8. ทำบันทึกขออนุมัติหนังสือผ่านหัวหน้าแผนกรองผู้อำนวยการ
และผู้อำนวยการอนุมัติ
9. ดำเนินการลงทะเบียนหนังสือตามขั้นตอนและแจ้งหนังสือที่อาจารย์คัดเลือก
เพื่อให้บริการห้องสมุดทันทีที่ดำเนินการเสร็จ
10. ทุกสิ้นปีงบประมาณสำนักหอสมุด จะทำการแจ้งผลไปยังคณะ/วิทยาลัย
ผ่านทางคณบดีในเรื่องค่าใช้จ่ายและจำนวนทรัพยากรที่จัดซื้อเข้ามา
ขอบเขตงานที่ได้รับมอบหมาย
1. การตรวจเช็คซ้ำโดยใช้โปรแกรม Acquisitions
serials
2. การลงระเบียน MARC หนังสือวิจัย / วิทยานิพนธ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น